ประวัติบ้านกะน็อบ  หมู่ที่  ๒

ตำบลกันทรารมย์  อำเภอกระสัง

นายณรงค์ศักดิ์  นุพินรัมย์ ผญ.บ.
นายสมบัติ  นุสรรัมย์  ผช.ผญบ.
นางเรไร  นุชาญรัมย์  ผช.ผญบ.
นายสุทัศน์  มั่นหมาย  สารวัตรกำนัน
นายถาวร  นุศรรัมย์  สารวัตรกำนัน

 

.  สภาพทางประวัติศาสตร์

ที่มาของคำว่า  กะน็อบ   แปลว่า  กลบมาจากภาษาเขมร  ในที่นี้หมายถึง  กลบขุมทรัพย์  เหตุเพราะว่า  บริเวณแห่งนี้มีปราสาทเก่าแก่สร้างด้วยหินแกรนิตตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน  ซึ่งสันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้เป็นที่กลบขุมทรัพย์อยู่ใต้ฐานของปราส  ดังนั้นกะน็อบภาษาเขมร  แปลว่า  กลบขุมทรัพย์

ผู้บุกเบิกคนแรก  และได้มาพบสถานที่แห่งนี้  ก็คือ  ท่านนายพรานเมือง  ซึ่งท่านเป็นนายพรานชอบล่าสัตว์  เป็นอาชีพ  ได้มาพบปราสาทเก่าแก่แห่งนี้  ประกอบกับสถานที่แห่งนี้เป็นทำเลเหมาะเป็นที่ตั้งเป็นของหมู่บ้าน  จึงได้พาเพื่อนบ้านย้ายบ้านมาจากบ้านแกใหญ่  อ.เมือง จ.สุรินทร์  และมีบ้านนาบัวเป็นบางส่วน  ครั้งแรกมีจำนวน  ๗-๘  หลังคาเรือน  ตั้งบ้านอยู่ห่างกันมีการบุกเบิกเป็นที่สร้างที่อยู่อาศัย  และที่ทำกิน และประชากรก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ  ประกอบกับ

สภาพความเป็นอยู่ในสมัยนั้น  มีป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก  ป่าทึบ  จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  ทั้งสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่  เพราะใกล้บริเวณปราสาทเป็น  หนองน้ำ  สัตว์ป่าจึงชอบลงมากินน้ำ

.  สภาพทางภูมิศาสตร์

สภาพพื้นที่ของบ้านกะน็อบ  เป็นที่ราบลุ่มและมีความลาดชันเล็กน้อยบางพื้นที่  จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับทำการเกษตร ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์  กะน็อบที่แปลว่ากลบขุมทรัพย์  จึงเป็นที่อุดมสมบูรณ์ทั้งทางการเกษตรผสมผสานและเลี้ยงสัตว์  สัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมากคือ  โค  กระบือ  เลี้ยงหมู    เป็ดไก่มีบางส่วน

บ้านกะน็อบมีทรัพย์พยากรณ์ธรรมชาติ  รวม  ๓  แห่ง  คือ

๑.  สระน้ำสาธารณะ  จำนวน  ๑ แห่งใช้การไม่ได้

๒.  สระน้ำสาธารณะ  อีกแห่งหนึ่ง ใช้อุปโภคได้

๓.  มีลำน้ำห้วยเจมิง  ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการเกษตร

๒.๑  ที่ตั้ง

เลขที่....................รหัส............................รุ้ง............................แวง..........................

๒.๒  อาณาเขต

ทิศเหนือ          จด  บ้านปลาย   ม.๔

ทิศใต้              จด  บ้านกันทรารมย์  ม.๑

ทิศตะวันออก  จด  บ้านสระสี่เหลี่ยม  ม.๙

ทิศตะวันตก    จด  ลำห้วยเจมิง

๒.๓  ภูมิอากาศ

มี  ๓  ฤดู  คือ  ฤดูฝน  ฤดูหนาว  และฤดูร้อน

๒.๔  การคมนาคมติดต่อ

บ้านกะน็อบตั้งอยู่ห่างจากอำเภอกระสัง  ประมาณ  ๗  กิโลเมตรเศษ  มีการติดต่อสู่ชุมชนอื่นได้ไม่ค่อยสะดวกนัก  เพราะสภาพของการคมนาคมสมัยนั้นใช้เกวียนเป็นพาหนะในการเดินทางประกอบกับหนทางซึ่งเป็นเกวียนนั้นคดเคี้ยว

จึงมีความลำบากในการเดินทางเป็นอย่างมาก  ในการจะเดินทางไปติดต่อกับหมู่บ้านอื่น  จะเข้าตัวเมืองแต่ละครั้งบางทีต้องนอนค้างแรมก็มี

.  ลักษณะการปกครอง

ได้กล่าวไว้แล้วในหลักฐานทางประวัติหมู่บ้าน

.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบหรือปรากฏการณ์ต่างๆ

หลักฐานที่ปรากฏคือ  ก้อนหินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัยก่อน  เป็นปราสาทเก่าแก่ที่พบหลักฐานที่สำคัญแห่งนี้คือ  เป็นบริเวณสมบูรณ์ที่หนองน้ำ

เหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านแห่งนี้คือ  โรคระบาดเกี่ยวกับวัว – ควาย  ต้องล้มตายเป็นจำนวนมาก  และเกิดปรากฏการณ์ฝนแล้งเป็นระยะเวลา ถึง  ๗  ปี  แต่เนื่องจากสมัยนั้นของป่ามีมาก  เราจึงอาศัยหาของป่ามาเลี้ยงชีพได้  ประกอบกับมีโจรผู้ร้ายชุกชุม เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์ที่แล้งยาวนาน  แต่ก็หาของป่ากินได้

ความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านนี้ต่อมามีจำนวนประชากรจำนวนมากขึ้นจึงต้องมีผู้นำชุมชนขึ้น  ผู้นำคนแรกในสมัยนั้นคือ

๑.  ผู้ใหญ่  เสร็บ    นุพินรัมย์

๒.  ผู้ใหญ่  หวัง     นิพลรัมย์

๓.  ผู้ใหญ่ เยียน     สำราญ

๔.  ผู้ใหญ่  เย็น      ซื่อสัตย์

๕.  ผู้ใหญ่  เพลน    สายแก้ว

๖.  ผู้ใหญ่  แนน     จริตรัมย์

๗.  ผู้ใหญ่  เลือน     นุพินรัมย์

๘.  ผู้ใหญ่  เยื้อน     นิโรรัมย์

๙.  ผู้ใหญ่  เสมอ     นิคงรัมย์

๑๐.ผู้ใหญ่  ชัยฤกษ์  ยั่งยืน  ปัจจุบันรับตำแหน่งกำนันตำบลกันทรารมย์ 2554

11.นายณรงค์ศักดิ์  นุพินรัมย์  เริ่ม 5 เม.ย.2566

จากรายชื่อบ้านกะน็อบมีผู้นำของหมู่บ้าน  ตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบันนี้มีผู้นำรวม  ๑๐  ท่าน

 

.  สภาพปัจจุบัน

ปัจจุบันบ้านกะน็อบมีประชากร  รวมทั้งสิ้น        คน   จำนวนครัวเรือน   133  ครัวเรือน   มีระบบประปาหมู่บ้านใช้  มีไฟฟ้าเข้าหมู่บ้านและได้ใช้ทุกหลังคาเรือน  ภาษาที่พูดในท้องถิ่นคือ  ภาษาเขมร  เป็นส่วนใหญ่  และนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก  ประชากรส่วนใหญ่ทำนาปลูกข้าวและเลี้ยงโค  กระบือ  และรับจ้างเป็นบางส่วน

ด้านผู้นำทางจิตใจมีหลวงพ่อพระครูวิสุทธิ์คันธารมย์  และต่อมาท่านได้มรณภาพ  มีหลวงพ่อพระครูสังวราภิรักษ์  เป็นเจ้าคณะอำเภอกระสังอยู่วัดคันธารมย์

๕.๑  สถานศึกษา  บ้านกะน็อบอยู่ในเขตบริการของโรงเรียนวัดบ้านกันทรารมย์    เหตุที่ว่าโรงเรียนมีชื่อวัดรวมอยู่ด้วย  คือสมัยก่อนเรียนกับวัด  ยังไม่มีโรงเรียนต่อมามีการสร้างโรงเรียนขึ้นในปี  พ.ศ.  ๒๔๙๖  ชื่อโรงเรียนสมัยก่อน  คือโรงเรียนวัดคันธารมย์  แต่ครูใหญ่สมัยนั้นได้เขียนคำว่าคันธารมย์  เพี้ยนไปเป็นกันทรารมย์  ซึ่งความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมด้วย  เพราะว่า  กันทร  หรือกันทรา   แปลว่า  ถ้ำ  หรือ  ซอกเขา

แต่ชื่อนี้ยังคงชื่อเดิมไว้  คือ  วัดคันธารมย์  มาจนถึงปัจจุบัน  บ้านกะน็อบ  มีสถานีอนามัย  ๑  แห่ง  ชื่อว่า  อนามัยกันทรารมย์

๕.๒  ศาสนสถาน  ที่ตั้งของศาสนสถานตั้งอยู่บ้านกันทรารมย์  ชื่อวัดคันธารมย์  ชึ่งแปลว่า  กลิ่นหอมอันอบอวนของดอกไม้  นานาพันธ์ ที่มีมากที่สุดก็คือ  ดอกลำดวน  ปัจจุบัน  วัดคันธารมย์  มีความสำคัญต่อชุมชนแห่งนี้มาก  เป็นที่รวมจิตใจของชุมชนหลายหมู่บ้านด้วยกัน

มีสถาปัตยกรรม  สิ่งปลูกสร้าง ดังนี้

มีโบสถ์  ๑  แห่ง  ศาลาอเนกประสงค์  ๑  แห่ง  กุฏิ  ๓  กุฏิ  มีอนุสรณ์สถานที่บรรจุอัฐิของหลวงพ่อพระครูวิสุทธิ์คันธารมย์  เจ้าอาวาสองค์ก่อนที่มรณภาพ  จำนวน  ๑  แห่ง  มีหอ

ระฆัง  ๑  แห่ง

.  ประเพณี/วัฒนธรรม/การละเล่นของชุมชน

ประเพณีและวัฒนธรรม  ของชุมชนบ้านกะน็อบ  มีดังนี้

๑.  ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา  ในช่วงเข้าพรรษาของทุกปีมีการแห่เทียนพรรษาไปถวายตามวัดต่างๆ  ในเขต

๒.  ประเพณีทำบุญออกพรรษา

๓.  ประเพณีลอยกระทง  ในวันเพ็ญ  เดือน  สิบสองของทุกปี

๔.  ประเพณีสงกรานต์  มีการรดน้ำขอพรจากผู้เฒ่าผู้แก่

๕.  ประเพณีการละเล่นของพื้นบ้าน  เช่น  รำตรด  มีการละเล่นในหน้าแล้งช่วงเดือนเมษา  การละเล่นที่เป็นจุดเด่นของบ้านกะน็อบ  อีกอย่างคือ  เรือมอันเร  หรือ  รำสากกระทบ  อุปกรณ์  ก็มี  สากตำข้าว  ใช้กระทบกันเป็นจังหวะ  มีกลองกันตรึม  ฉาบ  ฉิ่ง  ซอ  ปี่  เป็นต้น

มีการแเสดงการละเล่นในหน้าแล้ง  เพราะมีความเชื่อมาแต่สมัยก่อนที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานกันมาว่าถ้าหากปีไหนมีการละเล่นในหมู่บ้าน  ปีนั้นฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาลมีความอุดมสมบูรณ์

.  ศิลปะหัตกรรมในท้องถิ่น

-  ด้านศิลปะหัตกรรมในท้องถิ่นบ้านกะน็อบ  มี

-  ด้านเครื่องจักสาน  มีนางพราน   นิคงรัมย์ – นายทองดี   กล้างาม

-  ด้านการทอผ้าไหม  มี น.ส.ประยงค์   นุพินรัมย์  เป็นประธานกลุ่ม     มีสมาชิกรวมกลุ่มจำนวน  ๒๙  คน

-  ด้านการตัดเย็บ  มีกลุ่มพัฒนาสตรี  มี  น.ส.กนวรรณ   เป็นประธานกลุ่ม  มีสมาชิกของกลุ่มจำนวน  ๑๐  คน

-  ด้านงานช่างไม้  มีนายประเสริฐ   สายแก้ว  เป็นประธานกลุ่ม  มีสมาชิกรวมทั้งหมด  ๗  คน

-  ด้านผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีชื่อในหมู่บ้านกะน็อบ  คือ  มีการทอผ้าไหมที่สวยงามฝีมือปราณีต   สนใจติดต่อสอบถามได้ที่  คุณประยงค์  นุพินรัมย์ ประธานกลุ่มทอผ้าไหมบ้านกะน็อบ

.   อาหารประจำท้องถิ่น

สำหรับอาหารท้องถิ่นเราแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้  จากที่สาธารณะประโยชน์  จาก  ห้วยจะเมิง  เช่น  กุ้ง  หอย  ปู  ปลา  ถ้าขยันหาก็ได้กิน ถ้าขี้เกียจก็ต้องซื้อ  จากร้านค้าในหมู่บ้าน

ประเภทผัก  คือ  ผักริมรั้ว เช่น  ผักกระถิน  ริมรั้ว  ส่วนผักที่เป็นเอกลักษณ์          ที่มีชื่อนั้นบ้านกะน็อบยังไม่มี

.  บุคคลสำคัญ/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน

บุคคลสำคัญ  ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านกะน็อบ

๑.  อาจารย์  ถนอม   กลีบม่วง  มีความสามารถในด้านการสอนดนตรีไทย (วงดนตรีปี่พาทย์)

๒.  พ่อเลื่อน  นุพินรัมย์  มีความสามารถในการทำพิธีกรรมต่างๆ

๓.  แม่ทอง   นิพลรัมย์  มีความสามารถในการจับเส้นนวดเส้นแบบโบราณ

๔.  เกษตรผสมผสาน  ยังไม่มี  ใครทำจริงๆ  เพียงแต่ทำแบบสมัครเล่น

๕.  นักดนตรี  ศิลปิน มีนายเมือง  นายทองดี  นายวินัย   นายทองใบ  นายประนอม    ๕  คนนี้  มีความสามารถเล่น  กันตรึม  ซึ่งเป็นดนตรีประจำท้องถิ่น

๑๐.  แนวทางในการพัฒนาชุมชน

๑.  เป็นแหล่งท่องเที่ยว  เพราะชื่อว่า  กะน็อบเป็นของโบราณ  มีของดีอยู่ในท้องถิ่น  เป็นตลาดกลางของหมู่บ้าน  เพื่อ  ชาวบ้านจะได้นำผลผลิตทางการเกษตร  มาจำหน่าย   ใครมีของดีก็เอามาขาย

๒.  เป็นศูนย์กลางทางศาสนาพิธี    อยากมีที่ดินสร้างเป็นสาธารณะประโยชน์  เป็นศาลากลางหมู่บ้านเพื่อเป็นที่บำเพ็ญกุศล  พิธีทางศาสนาประจำของหมู่บ้านกะน็อบแห่งนี้

๓.  เป็นแหล่งในการศึกษา  เมื่อกะน็อบ มีตลาด  มีที่ดิน  ที่ศาลากลางหมู่บ้านอยากให้มีการศึกษาเช่น  เป็นแหล่งผลิตช่างซ่อมเครื่องยนต์ ซ่อมรถจักรยานยนต์  ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า  วิทยุ  เครื่องเสียง  พัดลม  ตู้เย็น

---------------

 

ผู้สัมภาษณ์ (ผู้จัดทำ)

ชื่อ  นายเมือง   คงชนะ

ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

ที่อยู่  ๓๗/๑  ม.  ๒  ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

 

ประวัติส่วนตัวผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้รู้ในท้องถิ่น)

ชื่อ  นายเลื่อน   นุพินรัมย์

ตำแหน่ง  อดีตผู้ใหญ่บ้าน  อายุ  ๗๖  ปี  ชื่อคู่สมรส  นางสุนทร  นุพินรัมย์

ที่อยู่  บ้านกะน็อบ  ม.๒  ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

การศึกษา  ป.๔  อาชีพ  ทำนา  จำนวนพี่น้อง  ๑๐  คน  จำนวนบุตร  ๔  คน