foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
Welcome to wild world nature

Login Form

การดำเนินงาน

ประวัติบ้านระกาเสม็ด  หมู่ที่  ๖

ตำบลกันทรารมย์  อำเภอกระสัง

 

ผู้ใหญ่บ้าน                      นายบุญชู  คงมี        ครบวาระ 10 มกราคม 2581
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน             นายครรชิต  กาศรัมย์
                                      นางสุคาร  มีชื่อ

 

.  สภาพทางประวัติศาสตร์

การเกิดของชุมชน  การตั้งบ้านเรือนประมาณ  ปี  พ.ศ. ๒๔๕๕  หรือ  ๙๒  ปีมาแล้ว  ผู้ก่อตั้งบุกเบิกได้อพยพมาจากอำเภอห้วยราช  และมาจากหมู่บ้านกระสังในช่วงเวลาใดไม่ทราบได้  เหตุที่อพยพมาเพราะพื้นที่หมู่บ้านเป็นป่าทึบ  เหมาะสำหรับปลูกพืชปลูกผักเป็นอย่างดี  และได้ก่อตั้งชุมชนนี้ว่า  บ้านระกา  เพราะว่าเมื่อสมัยก่อนมีต้นระกาอยู่หนึ่งต้นใหญ่มาก  อยู่ติดทางเกวียนทำให้ราษฎรที่ผ่านไปมาได้พบเห็น  และตั้งชื่อว่าบ้านระกา  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้

ชาติพันธ์ในชุมชนเป็นชนชาติเขมรโดยกำเนิด  พูดภาษาเขมร  มีประมาณ  ๖-๗  หลังคาเรือน  เป็นหมู่บ้านที่ลำบากมากน้ำก็ไม่มีมีแต่ลำห้วย  ต้องขุดบ่อเอาน้ำมาบริโภค  พื้นที่มีแต่ป่า  ต้นไม้เต็มไปหมด  ต้องขุดเผือกขุดมันกินเพื่อประทังชีวิตไปพลางๆ  ก่อน  จนเมื่อปี  พ.ศ.๒๔๗๕  ได้มีโรคระบาดทำให้ราษฎรล้มตายเป็นจำนวนมาก  ในสมัยนั้นผู้นำอยู่ที่บ้านดอนยาว

.  สภาพทางภูมิศาสตร์

สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงทางฝั่งตะวันออก  ส่วนทางตะวันตกพื้นที่จะลาดเอียง  ทำให้ฤดูฝนทางฝั่งตะวันตกค่อนข้างจะเก็บน้ำได้ดี  มีน้ำอุดมสมบูรณ์กว่าทางฝั่งตะวันออก    ฝั่งตะวันตกจะมีจะมีคูน้ำ  เวลาฝนตกมาจะเก็บน้ำไว้ทำให้ฤดูทำนามีน้ำพอเพียง

มีจำนวนครัวเรือนขนาดปานกลาง  ใจกลางหมู่บ้านจะมีสระน้ำของหมู่บ้านเป็นสระน้ำขนาดกลาง   ทางทิศเหนือก็จะมีสระน้ำสาธารณะประโยชน์  แต่ไม่ค่อยมีน้ำ  เพระสระมีการตื้นเขินไม่ได้ลอกสระเป็นระยะเวลานาน

ทรัพยากรธรรมชาติ  ป่าไม้ไม่ค่อยมีเนื่องจากชาวบ้านตัดไม้ไปทำบ้าน  และเผาถ่าน  จะมีต้นไม้ก็เพียงเบาบาง  ไม่หนาแน่นเหมือนอดีต แต่จะมีป่าไม้ที่วัดได้ทำการอนุรักษ์ไว้เฉพาะส่วนบริเวณวัดเท่านั้น  ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ  ๒  ไร่  เท่านั้น

๒.๑  ที่ตั้ง

พิกัด  14.949864,103.333773

๒.๒  อาณาเขต

ทิศเหนือ  จด  บ้านกันทรารมย์

ทิศใต้       จด  บ้านตะเคียน

ทิศตะวันออก  จด  บ้านเสม็ด

ทิศตะวันตก   จด  บ้านดอนยาว  -  บ้านปรีเวง

๒.๓  ภูมิอากาศ

มี  ๓  ฤดู  คือ  ฤดูฝน  ฤดูหนาว  และฤดูร้อน

๒.๔  การคมนาคมติดต่อ

เส้นทางเข้าสู่ชุมชน  จะมีทางที่ออกจากตัวอำเภอกระสังเป็นถนนสายหลัก  จากอำเภอกระสังถึงหมู่บ้านมีระยะทางประมาณ  ๔ กิโลเมตร  โดยประมาณ  การคมนาคม  จะเป็นรถยนต์  รถจักรยานยนต์เป็นส่วนมาก  การติดต่อกับชุมชนอื่น  ก็ติดต่อได้สะดวกสบายเพราะมีถนนผ่านหมู่บ้านหลายสาย  สามารถติดต่อกับชุมชนอื่นได้โดยสะดวก

บ้านระกาเสม็ดเป็นหมู่บ้านที่ระยะทางไม่ห่างจากตัวอำเภอเท่าใดนัก การคมนาคมจึงไม่ยากเท่าใด  ชุมชนอื่นก็มีระยะทางไม่ห่างกันมากจึงไม่มีปัญหาในการคมนาคม

.  ลักษณะการปกครอง

ได้กล่าวไว้แล้วในหลักฐานทางประวัติหมู่บ้าน

.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบหรือปรากฏการณ์ต่างๆ

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นก็มีเพียง  การเกิดโรคระบาดในสมัยก่อน  ประมาณ  พ.ศ.  ๒๔๗๕  มีชาวบ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก  จะมีอาการอาเจียน  และท้องเดินอย่างรุนแรงไม่ได้เกิดเฉพาะหมู่บ้านระกาเท่านั้น  หากแต่เกิดกับอีกหลายๆ  หมู่บ้าน

แล้วก็มีเหตุการณ์ปล้นสะดมกันตามธรรมดาสมัยนั้นอำนาจการปกครองจะขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่บ้าน  กำนัน  ถ้าหากมีอะไรเกิดขึ้นชาวบ้านต้องรายงานให้ผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันรับทราบ  แม้แต่การคลอดบุตร  การเข้าโรงเรียน  ผู้นำในสมัยนั้นมีบทบาทมากและชาวบ้านก็ให้ความเคารพ ยำเกรงต่อผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างมาก

จนมาถึงสมัยหลังประมาณ  ๓๐ – ๔๐ ปี  ชาวบ้านได้ร่ำเรียนหนังสือ  บ้างตามฐานะ  จากประมาณ  ๑๐๐  คน  โดยเฉลี่ย  จะมีคนอ่านหนังสือได้เกือบ  ๕๐  คน  การพัฒนาต่างๆจึงดำเนินไปอย่างรวดเร็ว  จากความเชื่อที่ว่าผู้หญิงไม่ต้องเรียนหนังสือ  ปัจจุบัน  ผู้หญิงได้รับสิทธิ์เกือบเท่าเทียมผู้ชาย  ความเชื่อต่างๆ  ก็ค่อยๆหายไปตามกาลเวลา

.  สภาพปัจจุบัน

จำนวนหลังคาเรือนของบ้านระกาเสม็ด  มี  ๑๓๐  หลังคาเรือน  จำนวนประชากรมี

๔๘๕  คน  มีอาชีพทำนาและปลูกผักเอาไปขายที่ตลาดกระสัง  ภาษาพูด  เขมรผสมภาษาไทย  ศาสนาพุทธ

วัดจะเป็นผู้นำทางจิตใจ  เวลามีการประกอบพิธีทางศาสนา  วัดจะเป็นผู้นำทางด้านนี้ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ  งานพิธีต่างๆ  ศูนย์กลางชุมชน จะมีวัด  โรงเรียน  เป็นหลัก

๕.๑  สถานศึกษา  มีโรงเรียนประจำหมู่บ้าน  ชื่อโรงเรียนบ้านระกาเสม็ด  ก่อตั้งมานานแล้วประมาณ  ๖๐  ปี  สมัยก่อนถ้าจะเรียน  ต้องเรียนที่วัดหรือก็ต้องไปเรียนที่หมู่บ้านอื่น  เช่น  ที่บ้านกันทรารมย์  เพระสมัยนั้น  บ้านระกาเสม็ดยังไม่มีโรงเรียน

๕.๒  ศาสนสถาน  วัดป่าประสานสังฆาราม  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน  ระยะทางจากปากทางเข้าหมู่บ้านไปวัด  ประมาณ  ๑ ก.ม.  เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวบ้าน  เวลามีงานบุญ  หรือ

ประกอบพิธีทางศาสนาลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยมีหอระฆังอยู่หน้าวัด  ส่วนเมรุมาศอยู่หลังวัด  สร้างได้ประมาณ  ๒  ปีมาแล้ว

.  ประเพณี/วัฒนธรรม/การละเล่นของชุมชน

ประเพณีก็มีเหมือนๆกับหมู่บ้านอื่น  โดยเฉพาะ  ภาคเราเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  (ภาค

อีสาน)  มีประเพณี

๑.  ลอยกระทง  ซึ่งจัดขึ้นตอนเดือน  ๑๒  ของทุกปี  เพราะเป็นฤดูน้ำหลากเป็นประเพณีที่จัดสืบทอดกันมาช้านานแล้ว  โดยชาวบ้านมีความเชื่อว่า  การลอยกระทงเป็นการลอยเอาสิ่งไม่ดีให้ไปกับสายน้ำ  แล้วเป็นการขอขมาเจ้าแม่คงคา  การเปลี่ยนแปลงตามสมัย  กลางคืนจะมีมหรสพ

๒.  สงกรานต์  จัดขึ้นในเดือน  ๔  (เมษายน)  ของทุกปี  เหตุผลเพื่อความสนุกสนาน  และอีกอย่างเป็น  วันขึ้นปีใหม่ของไทย  จะมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่  ขอพรจากท่าน  ปัจจุบัน  จะมีการประกวด  นางสงกรานต์  เพื่อความบันเทิง  แล้วก็เป็นการแสดงความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน

การละเล่นสมัยก่อน  จะมีการเล่น  รำลาวกระทบไม้  เล่นโยนสะบ้า  แต่ปัจจุบันค่อยๆ  หายไป  เหลือเพียงการเล่น  รำลาวกระทบไม้

.  ศิลปะหัตกรรมในท้องถิ่น

เครื่องจักสานยังมีอยู่แต่จะทำใช้ภายในครัวเรือน  มี

๑.  นายเดื้อม   กาศรัมย์  ๑๕๕  หมู่  ๖   ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

๒.  นายมาถ  กาศรัมย์  ๑๙๕  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

ทอผ้า  มี

๑.  นางละออ  หงษ์ทอง  ๑๑๓  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

๒.  นางพลาน   นะราชรัมย์  ๑๐๘  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า

๑.  นายนอม   กาศรัมย์  ๑๐๔/๓  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

.  อาหารประจำท้องถิ่น

อาหารประจำท้องถิ่นก็จะเน้นไปทางน้ำพริก  ปลาสด  ปลาย่าง  กินผัก  ต้มปลา  เพราะหาได้ตามหมู่บ้าน  กินกบกินเขียด  กันแล้วก็มีปู หอย  กุ้งฝอย  ผักก็จะมีผักตำลึง  ผักบุ้ง  ผักกระถิน  หาเก็บข้างรั้วบ้าน  มะเขือพวง  มะระขี้นก  ผักกระโดน  ผักเสม็ด  ผักหวาน

หมี่ยำ  ปัจจุบันก็จะทำกินกันในหมู่บ้าน  ส้มตำก็เป็นอาหารประจำท้องถิ่น

 

 

.  บุคคลสำคัญ/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน

มีหมอแผนโบราณชื่อ  นายมาก   กาศรัมย์          อายุ  ๖๕  ปี      ๑๙๕  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

เกษตรผสมผสาน  มี

๑.  นายถาวร   ลับโกษา  อายุ  ๔๗  ปี    ๑๕๒  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

๒.  นายเตียน  มีชื่อ  อายุ  ๕๓  ปี  ๑๓๖/๒  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

ศิลปินนักดนตรี  มี

นายครรชิต  กาศรัมย์  อายุ  ๓๒  ปี  ๓๖  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา  มี

๑.  นายโท   กาศรัมย์  อายุ  ๗๒  ปี  ๑๔๓  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์  เป็นสัปเหร่อ  หมู่บ้าน

๒.  นายดอน   กาศรัมย์  อายุ  ๖๒  ปี  ๑๓๒  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์  เป็นคนประกอบพิธีทางศาสนา  เช่น  งานแต่ง งานบวช  ขึ้นบ้านใหม่  โกนจุก

๑๐.  แนวทางในการพัฒนาชุมชน

๑.  เป็นแหล่งท่องเที่ยวอาจจะเป็นไปได้มาก  เพราะ  เป็นหมู่บ้านที่การพัฒนายังมีไม่มาก

๒.  วัดเป็นศูนย์กลางทางศาสนาพิธี

๓.  มีโรงเรียนเป็นแหล่งในการศึกษาให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนในชุมชน

๑๑.  บุคคลต่างประเทศที่มาเป็นบุตรเขตบุตรสะใภ้ในหมู่บ้านนี้

นายแกรี่  โมเรว   เป็นชาวอังกฤษ  อยู่บ้านนางเยียน  ตรวจมรรคา  (เป็นแม่ยาย) ๑๑๖  หมู่  ๖  ๕  ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

-----------------

 

ผู้สัมภาษณ์ (ผู้จัดทำ)

ชื่อ  นายเชาว์   นิกรรัมย์                             ปัจจุบัน  นายบุญชู   คงมี   ผู้ใหญ่บ้าน  ม.6

ตำแหน่ง  ผู้ใหญ่บ้านระกาเสม็ด

ที่อยู่  ๒๐๒  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

ประวัติส่วนตัวผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้รู้ในท้องถิ่น)

ชื่อ  นางมด   กาศรัมย์   อายุ  ๗๗  ปี  ชื่อคู่สมรส  นาย  สมร  กาศรัมย์

ที่อยู่  ๑๐๕  หมู่  ๖    ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

อาชีพทำนา  จำนวนพี่น้อง  ๙  คน  จำนวนบุตร  ๙  คน

เวปไซต์สำหรับเจ้าหน้าที่

จำนวนผู้เข้าเว็บ

มี 282 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

Copyright © 2024 Copyright Wild Nature Rights Reserved.