ประวัติบ้านเสม็ด  หมู่ที่  ๑๑

 ผู้ใหญ่บ้าน              นายประสบ  กาดรัมย์           ครบวาระ 24 กันยายน 2571
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน      นางกำไร  สุขไกร
                               นางสุภาพร  สมบูรณ์

 

ตำบลกันทรารมย์  อำเภอกระสัง

.  สภาพทางประวัติศาสตร์

เดิมได้มีผู้อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์  มาตั้งถิ่นฐานอยู่   ๗  หลังคาเรือน  ภาษาที่พูด  เป็นภาษาส่วยบ้าง    ภาษาเขมรบ้าง

มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ริมหนองน้ำ  ซึ้งชาวบ้านเรียกว่า  ต้นสมัด  ก็เลยเรียกต่อๆ  กันมา เป็นหนองสมัด  จนกลายมาเป็นบ้านเสม็ดในปัจจุบันนี้

.  สภาพทางภูมิศาสตร์

สภาพพื้นที่บ้านเสม็ด  ไม่มีลำห้วยไหลผ่าน  ทำนา  ต้องอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว  มีหนองน้ำธรรมชาติ  ๓  แห่ง  ได้อาศัยดื่มกิน  ทำการเกษตร  และเลี้ยงสัตว์

๒.๑  ที่ตั้ง

พิกัด  14.949781,103.343472

๒.๒  อาณาเขต

ทิศเหนือ   จด  บ้านกันทรารมย์

ทิศใต้        จด  บ้านตะเคียน

ทิศตะวันออก  จด  บ้านกระโลง

ทิศตะวันตก  จด  บ้านระกาเสม็ด

๒.๓  ภูมิอากาศ

มี  ๓  ฤดู  คือ  ฤดูฝน  ฤดูหนาว  และฤดูร้อน

๒.๔  การคมนาคมติดต่อ

๑.  ถนน  บ้านเสม็ด - กันทรารมย์  เป็นถนนหินคลุก  ระยะทางประมาณ  ๒,๕๐๐  เมตร

๒.  ถนน  บ้านเสม็ด- บ้านตะเคียน  เป็นถนนหินคลุก  ระยะทางประมาณ  ๓,๕๐๐  เมตร

๓.  ถนน  บ้านเสม็ด- บ้านระกาเสม็ด  เป็นถนนหินคลุก  ระยะทางประมาณ  ๕๐๐  เมตร

๔.  ถนน  บ้านเสม็ด- บ้านกะโลง  เป็นหินคลุก  ระยะทางประมาณ  ๒,๕๐๐ ม.

.  ลักษณะการปกครอง

ปกครองระบอบประชาธิปไตย

.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบหรือปรากฏการณ์ต่างๆ

ไม่มี

 

.  สภาพปัจจุบัน

บ้านเสม็ด  ม.๑๑   ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์    มี  ๔๗  หลังคาเรือน  มีประชากร

๒๑๒  คน  แยกเป็นชาย   ๑๐๓  คน  หญิง  ๑๐๙   อาชีพทำการเกษตร  ๘๕ %  รับจ้าง  ๑๐ %  ค้าขาย  ๕ % ภาษาที่ใช้   ภาษาเขมร  ส่วย  นับถือศาสนาพุทธ

๕.๑  สถานศึกษา   ๑  แห่ง  เรียนร่วมกันกับบ้านระกาเสม็ด

๕.๒  ศาสนสถาน  วัด  ๑  แห่ง  ร่วมกับบ้านระกาเสม็ด

.  ประเพณี/วัฒนธรรม/การละเล่นของชุมชน

ประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ  เท่าที่จำได้ก็มี  ประเพณีแห่เทียน  ทอดถวายเทียนเข้าพรรษา

ประเพณีลอยกระทง  ในวันเพ็ญ  เดือน  ๑๒

ประเพณีสงกรานต์มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

.  ศิลปะหัตกรรมใจท้องถิ่น

มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  แล้วมีการทอผ้าไหม  ทอผ้าด้าย  โดยต่างคนต่างทำไม่มีการรวมกลุ่ม

๘.  อาหารประจำท้องถิ่น

อาหารประจำท้องถิ่น  หรือผักพื้นบ้านที่ปลูก  ก็เหมือนหมู่บ้านอื่น  ส่วนมากจะเป็นพืชผักสวนครัว  ที่ปลูกขึ้นในครัวเรือนทั่วไป

.  บุคคลสำคัญ/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน

๑.  เกษตรผสมผสาน  คือ  นายสุวรรณ     สุขไกร    อายุ  ๖๓  ปี   ๒๑๔  ม.๑๑   ต.กันทรารมย์

อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

๒.  หมอแผนโบราณ  คือ  นายอินทร์   นุชาญรัมย์  อายุ  ๕๐  ปี  ๑๖๒  ม.๑๑   ต.กันทรารมย์

อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

๓. ปราชญ์ท้องถิ่น  คือ  นายเพือ   มีอุดหนุน   อายุ  ๕๘  ปี     ม.๑๑   ต.กันทรารมย์

อ.กระสัง    จ.บุรีรัมย์

๑๐.  แนวทางในการพัฒนาชุมชน

ไม่มี

ผู้สัมภาษณ์ (ผู้จัดทำ)

ชื่อ  นายทรง   สายบุตร    ตำแหน่ง   สมาชิ  อบต.กันทรารมย์

ที่อยู่  ๒๒๑  ม.๑๑   ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

ประวัติส่วนตัวผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้รู้ในท้องถิ่น)

ชื่อ  นายดำ   สายบุตร        อายุ  ๘๕  ปี  ชื่อคู่สมรส  นางแฮด   สายบุตร

ที่อยู่  ๑๕๘  ม.๑๑   ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

จำนวนพี่น้อง  ๗  คน  จำนวนบุตร  ๘  คน