foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
Welcome to wild world nature

Login Form

การดำเนินงาน

ประวัติบ้านโคกใหญ่  หมู่ที่  ๑๒

 

ผู้ใหญ่บ้าน ปัจจุบัน    นายองอาจ  นุแรมรัมย์  ครบวาระ 20 มกราคม 2572

 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน       นายวิสุทธิ  กิรัมย์
                                 นายแสวง  นุแรมรัมย์

ตำบลกันทรารมย์  อำเภอกระสัง

.  สภาพทางประวัติศาสตร์

การเกิดของชุมชนเกิดมาจากการขยายมาจากหมู่บ้านใกล้เคียง  คือ  บ้านปลายหมู่  ๔  ประมาณ  ๔๐  ปี  เหตุผลที่อพยพมาเนื่องจากพื้นที่ของบ้านปลายเป็นที่ลุ่ม  เหตุที่ตั้งชื่อบ้านโคกใหญ่  เนื่องจากพื้นที่เป็นที่สูง  หรือเรียกว่าโคกมีพื้นที่กว้างใหญ่  จึงใช้ชื่อบ้านโคกใหญ่ ตามสภาพภูมิประเทศสายพันธ์มาจากหมู่บ้านใกล้เคียงคือบ้านปลาย  ภาษาที่ใช้คือภาษาเขมร

สภาพหมู่บ้านเป็นพื้นที่ป่า  ถนนทางเกวียน  ผู้นำในสมัยนั้น  คือ  นายต๋วน   นุแรมรัมย์

.  สภาพทางภูมิศาสตร์

สภาพพื้นที่ของหมู่บ้าน  เป็นที่เนินสูง  (โคก)  พอสมควร  รูปทรงหมู่บ้าน  เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ไม่มีขั้นคู  คลอง  กั้น

๒.๑  ที่ตั้ง

พิกัด  14.986618,103.352888

๒.๒  อาณาเขต

ทิศเหนือ  จด  บ้านไผ่ลวก  ตำบลชุมแสง

ทิศใต้  จด  บ้านสระสี่เหลี่ยม

ทิศตะวันออก  จด  เขตตำบลชุมแสง

ทิศตะวันตก  จด  บ้านโคกยาง

๒.๓  ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศก็เป็นไปตามฤดู  ร้อน  ฝน  หนาว

๒.๔  การคมนาคมติดต่อ

เส้นทางเข้าสู่หมู่บ้าน  เป็นถนนของกรมทางหลวงชนบทลาดยาง  สะดวกสบาย  การเดินทางติดต่อสื่อสารกับชุมชนอื่นสะดวก ถนนสามารถเข้าถึงทุกชุมชน

สำหรับการเดินทางใช้ถนนสายหลัก  คือ  ถนนสายลำดวน  กระสัง  เป็นถนนลาดยางตัดผ่านหมู่บ้าน

.  ลักษณะการปกครอง

ดังที่กล่าวไว้ในประวัติหมู่บ้าน

 

.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบหรือปรากฏการณ์ต่างๆ

การเปลี่ยนแปลงแต่ละสมัยมีการพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ  ถนนหนทางมีการพัฒนาดีขึ้น  และสะดวกจนปัจจุบันเน้นถนนสายหลักในการสัญจร  ลาดยางอย่างดี

ไม่มีปรากฏการณ์ที่สำคัญอะไรที่เกิดขึ้น

.  สภาพปัจจุบัน

จำนวนหลังคาเรือน  ๖๓  หลังคาเรือน

จำนวนประชากรรวมชาย  หญิง  ๒๙๘  คน  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา  รองลงมาเป็นเลี้ยงสัตว์    ภาษาทีใช้  เป็นภาษาเขมรใช้ในการสื่อสาร  นับถือศาสนาพุทธ  ผู้นำทางจิตใจเป็นเจ้าอาวาสวัดประจำหมู่บ้าน  และผู้เฒ่าผู้แก่  ที่ชาวชุมชนให้ความนับถือ  ศูนย์กลางชุมชนอยู่ที่วัด  และบ้านกำนัน

๕.๑  สถานศึกษา  จะเดินทางไปศึกษาที่โรงเรียน  หมู่บ้านใกล้เคียง  ซึ่งอยู่ห่างประมาณ  ๑  ก.ม.  เป็นโรงเรียนประจำตำบล

๕.๒  ศาสนสถาน  เป็นสถานปฏิบัติธรรม หรือสำนักสงฆ์  ตั้งอยู่ระหว่างหมู่บ้านปลาย  โคกใหญ่  เป็นศูนย์รวมชุมชน  ของทั้งสองหมู่บ้าน  ในการทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของทั้งสองชุมชน  สถาปัตยกรรมเป็นแบบ  วัดไทยสมัยโบราณ  ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก  อินเดีย  และศาสนาพามหณ์

.  ประเพณี/วัฒนธรรม/การละเล่นของชุมชน

ประเพณีที่จัดทำกันทุกปี  ก็คือการทำบุญหมู่บ้าน  เพื่อสร้างความเชื่อมั่น  และการดำรงชีวิตให้มีความเจริญ  เชื่อกันว่าการทำบุญหมู่บ้าน จะช่วยให้หมู่บ้านปราศจากอันตราย ต่างๆ  อยู่เย็นเป็นสุข  มีความเจริญ  และเป็นการเลี้ยงผีบ้านผีเรือน  และปู่ตาประจำหมู่บ้าน

จะจัดกันช่วงเดือน  พฤษภาคม  -  มิถุนายน  ช่วงใดช่วงหนึ่งของเดือน  กำหนด  ๒  วัน  เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณี  ตามบรรพบุรุษที่มีการกระทำติดต่อกันมาตั้งแต่ปูย่าตายาย

.  ศิลปะหัตกรรมในท้องถิ่น

หัตกรรมที่ชุมชนส่วนใหญ่จะทำการ  ทอผ้าใหม  ในช่วงว่างจากการทำนา  เป็นการทำเพื่อใช้สอยเอง  ไม่ได้ทำเพื่อการส่งออกหรือขาย สินค้า  ๑  ตำบล  ๑  ผลิตภัณฑ์  จะเป็นเครื่องจักสาน  ชื่อ

กะน้อบ   ปัจจุบันยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาล  จึงยังไม่มีการจัดกลุ่ม

.  อาหารประจำท้องถิ่น

ปัจจุบันจะเป็นอาหารที่ซื้อมาจากตลาด  เป็นส่วนใหญ่  เช่น หมู  ปลา  เป็ด  ไก่  ส่วนอาหารประจำท้องถิ่น  เป็นพวกสัตว์เลี้ยงตามบ้าน เช่น  ไก่  เป็ด  หมู  วัว  ควาย  ผักที่เป็นเอกลักษณ์ก็จะเป็น  ผักทั่วๆ  ไป   เช่น  ผักตั่ว  ผักบุ้ง  และทุกอย่างที่หาได้ตามหมู่บ้าน

.  บุคคลสำคัญ/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน

๑.  นาย  สุริเย  อายุ  ๗๖  ปี  ๑๘๕  ม.๑๒  ภูมิปัญญาทางด้านศาสนพิธี กิจกรรมด้านประเพณี

๒.  นายสำยาง  เขตเพิ่มพูน  อายุ  ๔๕  ปี  ๔  ม. ๑๒  ภูมิปัญญาด้านการเกษตรผสมผสาน

๓.  นางสุภาพร   นิโรรัมย์  อายุ  ๓๒  ปี  ๑๗  ม.๑๒  ภูมิปัญญาด้านช่างฝีมือด้านการตัดเย็บเสื้อผ้า

๑๐.  แนวทางในการพัฒนาชุมชน

๑.  เป็นแหล่งท่องเที่ยว  คงให้มีการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น  และการดำรงชีวิตแบบพึงพาตนเอง

๒.  เป็นศูนย์กลางทางศาสนพิธี  มีการจัดประเพณีทำบุญทอดกฐินประจำทุกปี  และมีการประกอบพิธีแบบดั้งเดิม

๓.  เป็นแหล่งในการศึกษา  ทางวัฒนธรรม  การดำรงชีวิตการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภาษา(เขมร)

๑๑.  บุคคลต่างประเทศที่มาเป็นบุตรเขยบุตรสะใภ้ในหมู่บ้านนี้

นายจอห์น    มาจาประเทศอังกฤษ  เป็นเขยและ  อยู่กับ  นางกรอม  นุแรมรัมย์

ผู้สัมภาษณ์ (ผู้จัดทำ)

ชื่อ

ตำแหน่ง

ที่อยู่  อ.กระสัง   จ.บุรีรัมย์

ประวัติส่วนตัวผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้รู้ในท้องถิ่น)

ชื่อ  นายเหลือง   บุตรแวว

ตำแหน่ง  ส.อบต.  อายุ  ๕๘  ปี  ชื่อคู่สมรส  นางมาลี   บุตรแวว

ที่อยู่  ๑๘๗  ม.๑๒   ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง   จ.บุรีรัมย์

การศึกษา  ป.๔  อาชีพ  ทำนา   จำนวนพี่น้อง    ๓     คน    จำนวนบุตร  ๕   คน

ประวัติบ้านเสม็ด  หมู่ที่  ๑๑

 ผู้ใหญ่บ้าน              นายประสบ  กาดรัมย์           ครบวาระ 24 กันยายน 2571
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน      นางกำไร  สุขไกร
                               นางสุภาพร  สมบูรณ์

 

ตำบลกันทรารมย์  อำเภอกระสัง

.  สภาพทางประวัติศาสตร์

เดิมได้มีผู้อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์  มาตั้งถิ่นฐานอยู่   ๗  หลังคาเรือน  ภาษาที่พูด  เป็นภาษาส่วยบ้าง    ภาษาเขมรบ้าง

มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ริมหนองน้ำ  ซึ้งชาวบ้านเรียกว่า  ต้นสมัด  ก็เลยเรียกต่อๆ  กันมา เป็นหนองสมัด  จนกลายมาเป็นบ้านเสม็ดในปัจจุบันนี้

.  สภาพทางภูมิศาสตร์

สภาพพื้นที่บ้านเสม็ด  ไม่มีลำห้วยไหลผ่าน  ทำนา  ต้องอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว  มีหนองน้ำธรรมชาติ  ๓  แห่ง  ได้อาศัยดื่มกิน  ทำการเกษตร  และเลี้ยงสัตว์

๒.๑  ที่ตั้ง

พิกัด  14.949781,103.343472

๒.๒  อาณาเขต

ทิศเหนือ   จด  บ้านกันทรารมย์

ทิศใต้        จด  บ้านตะเคียน

ทิศตะวันออก  จด  บ้านกระโลง

ทิศตะวันตก  จด  บ้านระกาเสม็ด

๒.๓  ภูมิอากาศ

มี  ๓  ฤดู  คือ  ฤดูฝน  ฤดูหนาว  และฤดูร้อน

๒.๔  การคมนาคมติดต่อ

๑.  ถนน  บ้านเสม็ด - กันทรารมย์  เป็นถนนหินคลุก  ระยะทางประมาณ  ๒,๕๐๐  เมตร

๒.  ถนน  บ้านเสม็ด- บ้านตะเคียน  เป็นถนนหินคลุก  ระยะทางประมาณ  ๓,๕๐๐  เมตร

๓.  ถนน  บ้านเสม็ด- บ้านระกาเสม็ด  เป็นถนนหินคลุก  ระยะทางประมาณ  ๕๐๐  เมตร

๔.  ถนน  บ้านเสม็ด- บ้านกะโลง  เป็นหินคลุก  ระยะทางประมาณ  ๒,๕๐๐ ม.

.  ลักษณะการปกครอง

ปกครองระบอบประชาธิปไตย

.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบหรือปรากฏการณ์ต่างๆ

ไม่มี

 

.  สภาพปัจจุบัน

บ้านเสม็ด  ม.๑๑   ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์    มี  ๔๗  หลังคาเรือน  มีประชากร

๒๑๒  คน  แยกเป็นชาย   ๑๐๓  คน  หญิง  ๑๐๙   อาชีพทำการเกษตร  ๘๕ %  รับจ้าง  ๑๐ %  ค้าขาย  ๕ % ภาษาที่ใช้   ภาษาเขมร  ส่วย  นับถือศาสนาพุทธ

๕.๑  สถานศึกษา   ๑  แห่ง  เรียนร่วมกันกับบ้านระกาเสม็ด

๕.๒  ศาสนสถาน  วัด  ๑  แห่ง  ร่วมกับบ้านระกาเสม็ด

.  ประเพณี/วัฒนธรรม/การละเล่นของชุมชน

ประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ  เท่าที่จำได้ก็มี  ประเพณีแห่เทียน  ทอดถวายเทียนเข้าพรรษา

ประเพณีลอยกระทง  ในวันเพ็ญ  เดือน  ๑๒

ประเพณีสงกรานต์มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

.  ศิลปะหัตกรรมใจท้องถิ่น

มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  แล้วมีการทอผ้าไหม  ทอผ้าด้าย  โดยต่างคนต่างทำไม่มีการรวมกลุ่ม

๘.  อาหารประจำท้องถิ่น

อาหารประจำท้องถิ่น  หรือผักพื้นบ้านที่ปลูก  ก็เหมือนหมู่บ้านอื่น  ส่วนมากจะเป็นพืชผักสวนครัว  ที่ปลูกขึ้นในครัวเรือนทั่วไป

.  บุคคลสำคัญ/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน

๑.  เกษตรผสมผสาน  คือ  นายสุวรรณ     สุขไกร    อายุ  ๖๓  ปี   ๒๑๔  ม.๑๑   ต.กันทรารมย์

อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

๒.  หมอแผนโบราณ  คือ  นายอินทร์   นุชาญรัมย์  อายุ  ๕๐  ปี  ๑๖๒  ม.๑๑   ต.กันทรารมย์

อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

๓. ปราชญ์ท้องถิ่น  คือ  นายเพือ   มีอุดหนุน   อายุ  ๕๘  ปี     ม.๑๑   ต.กันทรารมย์

อ.กระสัง    จ.บุรีรัมย์

๑๐.  แนวทางในการพัฒนาชุมชน

ไม่มี

ผู้สัมภาษณ์ (ผู้จัดทำ)

ชื่อ  นายทรง   สายบุตร    ตำแหน่ง   สมาชิ  อบต.กันทรารมย์

ที่อยู่  ๒๒๑  ม.๑๑   ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

ประวัติส่วนตัวผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้รู้ในท้องถิ่น)

ชื่อ  นายดำ   สายบุตร        อายุ  ๘๕  ปี  ชื่อคู่สมรส  นางแฮด   สายบุตร

ที่อยู่  ๑๕๘  ม.๑๑   ต.กันทรารมย์  อ.กระสัง  จ.บุรีรัมย์

จำนวนพี่น้อง  ๗  คน  จำนวนบุตร  ๘  คน

บ้านสระสี่เหลี่ยม

 

ผู้ใหญ่บ้าน                  นายสมหมาย  สายศร   ครบวาระ  2 เมษายน 2580

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน         นายสมบูรณ์  ณพรรัมย์
                                   นายอานนท์  โคตรรักษา

ประวัติบ้านปรีเวง  หมู่ที่  ๑๐

 ผู้ใหญ่บ้าน             นายเรียงศักดิ์  เจียวรัมย์     (กำนัน 20 เม.ย.2566 )            ครบวาระ  1 เมษายน 2571

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน        นายสิน  พันธุ์ศรี
                                 นายสมพงษ์  เกรียรัมย์

 

ตำบลกันทรารมย์  อำเภอกระสัง

.  สภาพทางประวัติศาสตร์

ประวัติความเป็นมาของบ้านปรีเวง  แต่ก่อนชื่อว่า  ดอนยาว  แต่ทุกวันนี้แยกมาเป็น  บ้านปรีเวง  แต่เดิมชาวบ้านอพยพมาจาก  จังหวัดสุรินทร์  ศรีษะเกษ  เป็นชาวเผ่าเขมร  ส่วย  ลาว  เหตุที่อพยพมาและได้ตั้งชุมชนชื่อว่า  ดอนยาว  เริ่มแรกมี  ๑๐  หลังคาเรือน  ผู้นำชุมชน คือ  นายแลน  เจริญรัมย์  อพยพมาช่วงปี  พ.ศ. ๒๓๖๗  หมู่บ้านในช่วงนั้น  บ้านมุงหญ้าคา  เสาไม้

ประวัติที่ได้ชื่อว่า  ปรีเวง  เพราะต้องการแยกหมู่  จากบ้านดอนยาว  หมู่ที่  ๒  ตำบลเมืองไผ่ในสมัยนั้น  มาเป็น บ้านปรีเวงตำบลกันทรารมย์

.  สภาพทางภูมิศาสตร์

สภาพพื้นที่  หมู่บ้าน  เป็นที่ราบ  เป็นป่าที่มีไม้นานาพันธ์  อุดมสมบูรณ์  ทีดินยังไม่มีกรรมสิทธิ์  สามารถจับจองได้ตามต้องการ

๒.๑  ที่ตั้ง

พิกัด  14.955596,103.311491

๒.๒  อาณาเขต

ทิศเหนือ  จด  ตำบลเมืองไผ่

ทิศใต้  จด  ตำบลกระสัง

ทิศตะวันออก  จด  บ้านระกา

ทิศตะวันตก  จด  บ้านกลัน

๒.๓  ภูมิอากาศ

๒.๔  การคมนาคมติดต่อ  เส้นทางสาย  กระสัง  -  เมืองโพธิ์  ผ่าน  ถนนลัดสู่ตำบลกันทรารมย์

ถนนคันดิน  เชื่อมหมู่บ้านอื่นๆ  แต่ก่อนเป็นทางเกวียน  ทุกเส้นทาง

.  ลักษณะการปกครอง

ดังที่กล่าวไว้ในประวัติของหมู่บ้าน

.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบหรือปรากฏการณ์ต่างๆ

ไม่มี

.  สภาพปัจจุบัน

มีจำนวนครัวเรือน  ๑๖๕  ครัวเรือน  จำนวนประชากร  มี  ๑,๓๔๗  คน

อาชีพหลักในหมู่บ้านคือ  การทำนา

พูดภาษาไทย  เขมร  ส่วย  ลาว        ศาสนาพุทธ

๕.๑  สถานศึกษา  โรงเรียน

๕.๒  ศาสนสถาน  วัด

.  ประเพณี/วัฒนธรรม/การละเล่นของชุมชน

ประเพณีความเชื่อของชาวบ้าน  เรื่องทำบุญบ้านให้เป็นสิริมงคล  และโดนตา  สาดใหญ่  ทำทุกปี ประมาณ  เดือน  ๑๐

เซ่นตาหมู่บ้าน  เป็นความเชื่อของชุมชนสืบต่อถึงลูกหลาน    ประมาณเดือน  ๓  ของทุกปี

การทำบุญบ้านประมาณเดือน  ๖  ของทุกปี

.  ศิลปะหัตกรรมในท้องถิ่น

ไม่มี

.  อาหารประจำท้องถิ่น

ส้มตำปลาร้า  -   ผักบุ้งผักกาด

.  บุคคลสำคัญ/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน

ไม่มี

๑๐.  แนวทางในหารพัฒนาชุมชน

ไม่มี

ผู้สัมภาษณ์ (ผู้จัดทำ)

ชื่อ  นายชาญชัย   แก้วพิกุล

ตำแหน่ง  สมาชิก  อบต.

ที่อยู่  ๔  หมู่  ๑๐  ต.กันทรารมย์   อ.กระสัง   จ.บุรีรัมย์

 

ประวัติส่วนตัวผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้รู้ในท้องถิ่น)

ชื่อ  นาย  บุญมี    เจียวรัมย์  อายุ   ๘๐  ปี  ชื่อคู่สมรส

ที่อยู่

จำนวนพี่น้อง         คน    จำนวนบุตร    คน

บ้านกะโลง

ผู้ใหญ่บ้าน             นางผุสดี  ยอดทอง          ครบวาระ 24 ต.ค.74
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน     นายประกอบ  แก้วยก
                              นางประหยัด เจ็ดประโคน

เวปไซต์สำหรับเจ้าหน้าที่

จำนวนผู้เข้าเว็บ

มี 29 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

Copyright © 2024 Copyright Wild Nature Rights Reserved.