foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
Welcome to wild world nature

Login Form

การดำเนินงาน

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านระกาเสม็ด

alt

           สมัยก่อนกลุ่มคนที่ได้อพยพมาตั้งรากฐานอยู่ก่อน  คือ  ตาอูน และยายแจ้  กาดรัมย์   ซึ่งได้อพยพถิ่นฐานมาจากบ้านระโยง และได้มีคนอพยพตามมาอีก 2-3  ตระกูล  คือ  ตาเจียมและยายแจง  พลรักษา  ตาเจียบ และยายทอ  เทียมพล  ขึ้นตรงต่อตำบลห้วยราช  อำเภอเมือง  ในสมัยนั้น  ต่อมาได้ขึ้นต่อตำบลกระสัง  จะเป็นเมื่อไหร่นั้นไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด  รวมหมู่บ้านกับบ้านดอนยาว  ต่อมาได้แยกหมู่จากบ้านดอนยาว  รวมกับบ้านเสม็ด  ขึ้นต่อตำบลเมืองไผ่เมื่อปี  พ.ศ. 2526  แยกออกจากตำบลเมืองไผ่  ขึ้นต่อตำบลกันทรารมย์  และแยกหมู่จากบ้านเสม็ดออกมา โดยได้ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่นี้ว่า “บ้านระกา” ที่มาของชื่อหมู่บ้านที่ตั้งชื่อว่า  บ้านระกา  เพราะสมัยก่อนมีต้นระกาขนาดใหญ่ประมาณ  5-6  คนโอบ อยู่กลางหมู่บ้าน  จึงได้ตั้งชื่อตามต้นระกาต้นนั่นเอง

alt

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

แบบสำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

 

alt

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรยกย่อง
ภูมิปัญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์
ตำบลกันทรารมย์  อำเภอกระสัง  จังหวัดบุรีรัมย์
alt

ครูภูมิปัญญาไทยหรือที่ยกย่องกันว่าปราชญ์ชาวบ้าน มีหลากหลายตามความถนัดและการปฏิบัติของแต่ละคนซึ่งมีองค์ความรู้ที่มีการหล่อหลอม ซึมซับ บ่มเพาะ ค้นคว้า ทดลองโดยใช้วิถีชีวิตของตนเองเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่ เพื่อทดสอบความถูกผิดแล้วคิดสรรกลั่นกรองสิ่งที่มีคุณค่าแก่ชีวิต แก่แผ่นดิน ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้สืบสานทั้งที่เป็นมาดกและทั้งที่เป็นสมบัติทางปัญญา ดังนั้นประสบการณ์ความคิดและวิถีการดำรงชีวิตของครูภูมิปัญญาไทยแต่ละท่านล้วนเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สำคัญของแผ่นดิน ซึ่งกลุ่มงานภูมิปัญญาท้องถิ่นขอแนะนำครูภูมิปัญญาไทยหรือปราชญ์ ที่น่าสนใจและเรียนรู้ วิถีชีวิต/การปฏิบัติงาน

องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ เล็งเห็นความสำคัญ และเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ จึงได้จัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ ขึ้น

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน

-ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ผู้ทรงคุณวุฒิที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเชิญมาให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๙ มีดังนี้

          ๑.นายถนอม     กลีบม่วง          ให้ความรู้เรื่อง ดนตรีไทย

  ๒.นางอุทัย       นิคงรัมย์          ให้ความรู้เรื่อง การบายศรีสู่ขวัญ
  ๓.นางลักขณา    นิพลรัมย์         ให้ความรู้เรื่อง การทำขนมพื้นบ้าน
  ๔.นางน้ำอ้อย    นานินรัมย์        ให้ความรู้เรื่อง สมุนไพร
  ๕.พระธรรนูญ    ให้ความรู้เรื่อง หลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ  

 

-ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแพทย์แผนไทย หมอเป่ารักษากระดูก ประกอบด้วย

๑.นายโซน        นุชาญรัมย์                  หมู่ที่ ๑

 

-ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาและประเพณี  หมอทำมงคล/ไหว้ภูมิ/ทำเคราะห์บ้าน/ขึ้นบ้านใหม่/งานแต่งงาน ประกอบด้วย
        ๑.นายเลื่อน      นุพินรัมย์                   หมู่ที่ ๒

๒.นายสมัย       นุเรืองรัมย์                 หมู่ที่ ๙
๓.นายสู           นุชาญรัมย์                 หมู่ที่ ๑
๔.นายเฉลิมศักดิ์ สืบพรหม                  หมู่ที่ ๑

 

พิธีปังอ็อคเปรี๊ยะแค ประกอบด้วย

๑.นายสนอง นุเรืองรัมย์                      หมู่ที่ ๗

๒.นายจรูญ สุขโขรัมย์                        หมู่ที่ ๘

๓.นายสนิท นุเรืองรัมย์                       หมู่ที่ ๗

๔.นายพิชิต เยรัมย์                            หมู่ที่ ๗

๕.นายสถาพร เนียมอ่อน                     หมู่ที่ ๗

-ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตร  การำปุ๋ยชีวภาพ ประกอบด้วย

          ๑.นายนพเก้า     ศิริแสงจันทร์              หมู่ที่ ๑
          ๒.นายสวัสดิ์      นิพลรัมย์                   หมู่ที่ ๒

-ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปวัฒนธรรม/ดนตรี  การสีซอ ประกอบด้วย

๑.นายเมือง       คงชนะ                    หมู่ที่ ๑
๒.นายวินัย       กมลรัมย์                   หมู่ที่ ๒

การรำตรด ประกอบด้วย

๑.นายเฉลิมศักดิ์ สืบพรหม                   หมู่ที่ ๑
๒.นายทองใบ     นุชาญรัมย์                หมู่ที่ ๑

การทำบายศรี ประกอบด้วย

          ๑.นางอุทัย       นิคงรัมย์                     หมู่ที่ ๒
          ๒.นางวันนา      กลีบม่วง                     หมู่ที่ ๒

คณะโตรด ประกอบด้วย

๑.นายสนิท นุเรืองรัมย์ (ครูเพลง ร้องนำ)    หมู่ที่ ๗

๒.นายสนอง นุเรืองรัมย์                          หมู่ที่ ๗

๓.นายเล็ก มีรสล้ำ                                  หมู่ที่ ๘

นางรำ ประกอบด้วย

๑.นางผุสดี ยอดทอง                          หมู่ที่ ๘

๒.นางจำเนียร ระดมบุญ                      หมู่ที่ ๗

๓.นางผกาวรรณ มีชัยรัมย์                   หมู่ที่ ๗

๔.นางวนาลี วิเวกรัมย์                        หมู่ที่ ๗

๕.นางสนอง ปิดทอง                         หมู่ที่ ๘

๖.นางรสริน มีอุดหนุน                        หมู่ที่ ๗

๗.นางภัตราภา นะรมรัมย์                    หมู่ที่ ๘

๘.นางสงวนจิต นิมินรัมย์                    หมู่ที่ ๗

๙.นางปุม แก้วยก                             หมู่ที่ ๘

๑๐.นางญาติ เกิดบุตร                        หมู่ที่ ๗

๑๑.นางสมจิตร จงสูง                         หมู่ที่ ๗

-ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรม  การทำกระเป๋า ประกอบด้วย

๑.นางสาวิตรี หาสุข                           หมู่ที่ ๗

๒.นางธนาภรณ์ แก้วยก                      หมู่ที่ ๗

๓.นางบุญพา นิมินรัมย์                       หมู่ที่ ๗

๔.นางปิ่น เนียมอ่อน                          หมู่ที่ ๗

๕.นางละม้าย เยรัมย์                          หมู่ที่ ๗

๖.นางผกาวรรณ มีชัยรัมย์                   หมู่ที่ ๗

๗.น.ส.สุกัญญา โพนทะนา                  หมู่ที่ ๗

๘.นางสงวนจิต นิมินรัมย์                     หมู่ที่ ๗

การทอผ้าและทำกระเป๋า ประกอบด้วย

๑.นางอำนวย ดัดถุยาวัตร                    หมู่ที่ ๗

๒.นางวนาลี วิเวกรัมย์                        หมู่ที่ ๗

๓.นางธนาภรณ์ แก้วยก                      หมู่ที่ ๗

๔.นางจำเนียร ระดมบุญ                     หมู่ที่ ๗

๕.นางสงวนจิต นิมินรัมย์                    หมู่ที่ ๗

๖.นางทอ หงษ์ทอง                          หมู่ที่ ๗

๗.นางสดใส เนียมอ่อน                      หมู่ที่ ๗

๘.นางสำอางค์ มีอุดหนุน                    หมู่ที่ ๗

๙.นางสงบ นิมินรัมย์                         หมู่ที่ ๗

๑๐.นางปด โพธิ์ไทร                          หมู่ที่ ๗

๑๑.นางเพอะ หมู่ดี                            หมู่ที่ ๗

๑๒.นางเจียด มีอุดหนุน                      หมู่ที่ ๗

 

alt

 

ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ประจำปี 2558 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน 2558 ร่วมรับพลังศักดิ์สิทธิ์แสงแรกแห่งรุ่งอรุณพระอาทิตย์ฉายแสงผ่านศิวลึงค์ตัวแทน แห่งพระศิวะ 15 ช่องบานประตูของปราสาทพนมรุ้ง เวลา 06.00 น (3-5 เม.ย.58)
กำหนดการ
3 เมษายน 2558 เวลา 06.59 น.  บวงสรวงองค์พระศิวะและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาพนมรุ้ง  4-5 เมษายน 2558 เวลา 15.00 น.ชมความยิ่งใหญ่อลังการของริ้วขบวนเสด็จพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี เป็นจินตนาการประกอบการแสดงโดย “น้องมิว-ลักษณ์นารา เปี้ยทา” เป็นพระมารดาของเจ้าชายนเรนทราทิตย์ผู้สร้างปราสาทพนมรุ้งเสด็จจากเมืองพระ นครหลวงมายังเทวาลัยพนมรุ้งพร้อมกับนางจริยา นางสนองพระโอษฐ์ ข้าทาสบริวารขบวนเทพพาหนะเพื่อถวายเป็นเทวาสักการะแด่เทพผู้พิทักษ์ทิศทั้ง 10 แห่งจักรวาล ได้แก่ หงส์ ช้าง โค ระมาด คชสีห์ นกยูง นาค ม้า รากษส กระบือ  การแสดง แสง สีเสียง บอกเล่าเรื่องราวพนมรุ้ง ใน ราคาบัตรเข้าชม บัตรละ 500 บาท ซื้อบัตรได้ที่ ที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 0-4466-6503

นายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า การจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งในปีนี้ (2558) จังหวัดบุรีรัมย์จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด พร้อมกันนี้ยังได้เชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยว ชมปรากฏการณ์มหัศจรรย์ทางธรรมชาติ ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงสาดส่องผ่าน 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง เวลา 06.10 น. ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน เพื่อรับพลังแสงอาทิตย์เสริมสิริมงคลแก่ชีวิตตามความเชื่อด้วย คาดว่าตลอดการจัดงานจะมีเงินสะพัดตามแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหารหลายสิบล้านบาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0-4466-6503
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร.0-4466-6251
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0-4466-6531
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0-4466-6528
ททท.สำนักงานสุรินทร์ โทร.0-4454-4447-8

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

alt

เวปไซต์สำหรับเจ้าหน้าที่

จำนวนผู้เข้าเว็บ

มี 44 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

Copyright © 2024 Copyright Wild Nature Rights Reserved.